ประวัติโรงเรียน
|
ประมาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ จีนไหหลำชื่อยกเบียนสามี อำแดงแย้มยกที่ดินหนึ่งแปลงเนื้อที่ ๓ งาน ๖๐ ตารางวา อำแดงผ่อง ยกที่ดินหนึ่งแปลงเนื้อที่ ๑ งาน ๖๐ ตารางวา ให้ทำเป็นโรงเรียนสอนภาษาไทย – จีน จนประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๗๐ คณะกรรมการโดยมีจีนยกเบียนเป็นผู้นำพร้อมด้วยนายขี่เหลียนแซ่ภู่ ( ร้านบ้วนฮั้วตี้ง ) นายเกียม แซ่ด่าน ( ร้านช่วนหลี ) นายฟัก วงศ์ฟัก เหลี่ยมเซียมฮะนายเบียนเฮียน แช่ปัง และอีกหลายท่านไ ม่ทราบนาม ได้ร่วมกัน จัดหาทุนมาก่อสร้างอาคารตึกครึ่งไม้ ๒ ชั้น มีมุข ๖ ห้องเรียนชาวตลาดบางโพท่าเสาร่วมอุปการะ มาต ลอดให้ชื่อว่าโรงเรียน “ขี่เหม็ง” ทำการสอนอยู่หลายปีก็ปิดเป็นอันสิ้นสุดชื่อโรงเรียนขี่เหม็ง ในระยะก่อนพ.ศ. ๒๔๖๐ ขึ้นไปในข ณะนั้นตลาดท่าเสามีการค้าเจริญมากมีพ่อค้า ชาวไหหลำเจ้าของร้านเข่งเต้ง (เค่งเส็ง) ชื่อนายยกเบียนและนายยกเบียว สองพี่น้องแซ่เตียว (เตีย) ซึ่งมีภารกิจการค้าใหญ่มากไ ด้เป็นผู้ริเริ่มและชักชวนพ่อค้าจีนในตลาดท่าเสาและตลาดใกล้เคียง ร่วมกันก่อสร้างศาลเจ้าตามความศรัทธานิยมของชนชาติจีน ไหหลำขึ้นคือศาลเจ้าเฮียดี้กง ( วีรเทพ ๑๐๘ องค์ ) อาคารศาลเจ้านี้แรกเริ่มสร้างด้วยไม้เป็นอาคาร ๒ ชั้นติดถนนสำราญรื่น เมื่อ สร้างเสร็จแล้วจะมีการเซ่นไหว้ตามประเพณีปีละ ๒ ครั้ง คือหลังตรุษจีนและสารทจีนทั้งสองผู้ริเริ่มศาลเจ้าต่างก็มีครอบครัวและ บุตรหลานหลายคนจึงมองเห็นความสำคัญของการศึกษา จึงอาศัยอาคารศาลเจ้าทำเป็นโรงเรียนชั่วคราว โดยหาจ้างคนจีนมา จากเมืองจีน (ไหหลำ) มาทำการสอนหนังสือและภาษาจีนให้แก่บุตรหลานรวมทั้งเด็กเล็กในตลาดที่ไปร่วมเรียนต่อมามีนักเรียนเ พิ่มมากขึ้น จึงต่อเติมอาคารเรียนไปทางด้านหลังอีกเป็นอาคารชั้นเดียว ในราว พ.ศ. ๒๔๖๓ ( ก่อนหรือหลังคงไม่เกิน ๒ ปี ) จึงเปิดเป็นโรงเรียนราษฎร์สอนทั้งภาษาไทยและภาษาจีน ครูภาษาไทยซึ่ง เป็นครูใหญ่ด้วยคือ ครูพลอย สีหะอำไพ หลักสูตรในเวลานั้นมีเพียงชั้นประถมศึกษาปีที ๑ – ๓ ระยะนี้เองชาวจีนไหหลำทางใต้ถึ งจังหวัดพิจิตร ทางเหนือถึงจังหวัดแพร่ – น่าน ได้ส่งบุตรหลานมาเรียนที่โรงเรียนนี้ด้วย จำนวนนักเรียนรวม ๑๐๐ คน ทั้งนี้เพ ราะเป็นโรงเรียนจีนแห่งแรก ทางภาคเหนือนั่นเองโรงเรียนมีชื่อว่า “ โรงเรียนขี่เหม่ง” คณะกรรมการโรงเรียนขณะนั้นได้แก่ นายขี่เหลียน แซ่ภู เจ้าของม้วนฮั่วตึง ( ต่อมาเปลี่ยนเป็นดำรงค์โอสถ ) นายเกียม แซ่ด่วน เจ้าของร้างซ่วนหลี ที่ตลาดบางโพก็มีนายฟัก ฮุนง่วนเฮง ( วงค์ฟัก ) นายคัด เหลี่ยมเซี่ยมฮะ นายเบียนเฮียน แซ่มั่ง ส่วนการอุปการะจากชาวตลาดท่าเสาและบางโพช่วยกันบริจาคสมทบ แต่ส่วนใหญ่นั้นร้านเข่งเต้ง ( เค่งเส็ง ) รับภาระสม กับเป็นร้านค้าใหญ่และเป็นผู้ริเริ่มบรรดาท่านที่กล่าวมาตั้งแต่ต้น บัดนี้เหลือแต่ชื่อเสียงและเกียรติคุณความดีอันเป็นกุศลกรรมที่ ควรจะจารึกไว้ในที่นี้เป็นอย่างยิ่งครั้งต่อมาราวพ.ศ. ๒๔๗๐ คณะกรรมการโรงเรียน คงเห็นว่า อาคารเรียนเก่าทรุดโทรมไม่เหมา ะสม จึงทำการเรี่ยไรทั่วไปหลายจังหวัด ได้เงินมาทำการก่อสร้างอาคารใหม่เป็นอาคารปัจจุบันระหว่างที่รื้ออาคารเก่าได้ปลูกเรื อนใหม่เป็นโรงเรียนชั่วคราวที่ริมตลิ่งแม่น้ำน่านและย้ายศาลเจ้าไปที่บ้านด่านน้ำ (เมื่ออาคารใหม่สร้างเสร็จก็ไม่ได้ย้ายศาลเจ้าก ลับมา ) หลังจากมีอาคารของโรงเรียนโดยสมบูรณ์ ก็เปิดทำการสอนได้เพียง ๒ – ๓ ปี มีการประชุมจัดงานที่ระลึกของโรงเรียน ทางการสงสัยว่าจะมีการเมืองแอบแฝงจึงจับกุมกรรมการหลายคนรวมทั้งค รูภาษาจีนด้วยเมื่อสอบสวนเสร็จก็ให้เนรเทศครูจีนและปลดปล่อยกรรมการโรงเรียนซึ่งเป็นพ่อค้าสุจริตพ้นข้อหาออกมา แต่โรงเ รียนก็ถูกสั่งปิดด้วยเป็นอันว่า “ โรงเรียนขี่เหม็ง” ก็สิ้นสุดเพียงเท่านี้ โรงเรียนถูกปิดอยู่หลายปีและต่อมาเทศบาลเมืองขอเช่าเปิดเป็นโรงเรียนเทศบาลอีกหลายปี ( เริ่มเช่าและเลิกเช่าเมื่อใดไม่ทราบไ ด้ ) เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุติลง พ่อค้าจีนชาวท่าเสาและบางโพเริ่มไหวตัวเรื่องโรงเรียนจีนอีก เริ่มรวบรวมก่อตั้งกรรมการ พ่อค้าจีนทั้งแต้จิ๋วและไหหลำกวางตุ้งร่วมกันใช้อาคารโรงเรียนขี่เหม่งขออนุญาตตั้งเป็นโรงเรียนใหม่ ชื่อ “ โรงเรียนหัวเฉียว”โ รงเรียนหัวเฉียวซึ่งเขียนใหม่เป็น “ โรงเรียนหวัวเฉียว ” ตั้งเป็นโรงเรียนราษฎร์เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๔๙๑ ครั้งแรกมีการส หน้า 12 จาก 78 อนทั้งภาษาไทยและภาษาจีนต่อมาภายหลัง ( ประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๐ ) จึงเลิกสอนภาษาจีนคงสอนแต่ภาษาไทยตามหลักสูตร ของกระทรวงศึกษาธิการ
หมายเหตุ ขี่เหม็ง มีความหมายว่า ให้ความรู้คนอื่น
หวัวเฉียว มีความหมายว่า คนเชื้อชาติจีนที่อยู่ต่างประเทศ |